อินโดนีเซีย ปิดดีลภาษีนำเข้าสหรัฐ เหลือ 19% ขณะไทยยังถูกเก็บสูงถึง 36% เริ่ม 1 ส.ค. 2568 เสี่ยงสูญเสียความสามารถแข่งขัน ซัพพลายเออร์เปลี่ยนฐานไปอินโดฯ
ท่ามกลางความพยายามในการเจรจาต่อรองของหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย อินโดนีเซียถือเป็นชาติที่ 2 ของอาเซียนที่ปิดดีลการค้าได้สำเร็จ จาก 32% ลดเหลือ 19% ส่งผลให้อัตราภาษีนำเข้าลดลงต่ำกว่าสมาชิกอาเซียนชาติอื่น
ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมของ อินโดนีเซีย และ ไทย มีความคล้ายคลึงกันในหลายด้าน เนื่องจากทั้งสองประเทศเป็นประเทศอาเซียนที่มีระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมใกล้เคียงกัน และต่างเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกไปยังตลาดโลก โดยเฉพาะตลาดสหรัฐฯ
สิ่งที่หน้ากังวลคือความสามารถแข่งขันทางการค้า ความเสี่ยงในการย้ายผลิตไปประเทศอื่น ๆ ที่ได้ภาษีต่ำกว่าประเทศไทย หากไทยไม่สามารถเจรจาต่อรองลดภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ซึ่งถูกเก็บถึง 36% โดยจะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 สิงหาคม 2568
เทียบสินค้าไทย - อินโดฯ ส่งออกไปสหรัฐฯ
จากข้อมูลศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า สินค้าไทยส่งออกไปยังสหรัฐ ในช่วง 5 เดือน ของปี 2568 ( มกราคม - พฤษภาคม ) 20 อันดับแรก ได้แก่
- เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่า 6,567 ล้านดอลลาร์
- ผลิตภัณฑ์ยาง มูลค่า 1,985 ล้านดอลลาร์
- เครื่องโทรสารโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่า 1,802 ล้านดอลลาร์
- อัญมณีและเครื่องประดับ มูลค่า 1,049 ล้านดอลลาร์
- เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ มูลค่า 1,045 ล้านดอลลาร์
- หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ มูลค่า 990 ล้านดอลลาร์
- เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล มูลค่า 979 ล้านดอลลาร์
- รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่า 765 ล้านดอลลาร์
- เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ มูลค่า 762 ล้านดอลลาร์
- อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์ และไดโอด มูลค่า 709 ล้านดอลลาร์
- เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ มูลค่า 556 ล้านดอลลาร์
- ผลิตภัณฑ์พลาสติก มูลค่า 553 ล้านดอลลาร์
- แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า มูลค่า 497 ล้านดอลลาร์
- อาหารสัตว์เลี้ยง มูลค่า 438 ล้านดอลลาร์
- อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป มูลค่า 385 ล้านดอลลาร์
- ผลไม้กระป๋องและแปรรูป มูลค่า 377 ล้านดอลลาร์
- เครื่องนุ่งห่ม มูลค่า 371 ล้านดอลลาร์
- ข้าว มูลค่า 369 ล้านดอลลาร์
- เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน มูลค่า 336 ล้านดอลลาร์
- ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ มูลค่า 336 ล้านดอลลาร์
- อื่น ๆ มูลค่า 6,220 ล้านดอลลาร์
รายการสินค้าอินโดนิเซียส่งออกไปสหรัฐฯ
ขณะเดียวกัน สินค้าอินโดนิเซียส่งออกไปยังสหรัฐ ในช่วง 4 เดือน ของปี 2568 ( มกราคม - เมษายน ) 20 อันดับแรก ได้แก่
- เครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า 1,596 ล้านดอลลาร์
- รองเท้า มูลค่า 853 ล้านดอลลาร์
- เครื่องแต่งกาย ถัก มูลค่า 801 ล้านดอลลาร์
- เครื่องแต่งกาย ไม่ถัก มูลค่า 707 ล้านดอลลาร์
- ไขมันจากสัตว์หรือพืช มูลค่า 635 ล้านดอลลาร์
- ยางและผลิตภัณฑ์ มูลค่า 524 ล้านดอลลาร์
- เฟอร์นิเจอร์ มูลค่า 502 ล้านดอลลาร์
- ปลา สัตว์น้ำ มูลค่า 371 ล้านดอลลาร์
- เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ มูลค่า 316 ล้านดอลลาร์
- เครื่องหนัง มูลค่า 288 ล้านดอลลาร์
- เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด มูลค่า 286 ล้านดอลลาร์
- โกโก้และของปรุงแต่งที่ทำจากโกโก้ มูลค่า 283 ล้านดอลลาร์
- ไม้และของจากไม้ มูลค่า 261 ล้านดอลลาร์
- ของปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์ ปลา มูลค่า 260 ล้านดอลลาร์
- เคมีภัณฑ์อินทรีย์ มูลค่า 177 ล้านดอลลาร์
- กาแฟ ชา มูลค่า 174 ล้านดอลลาร์
- กระดาษ มูลค่า 157 ล้านดอลลาร์
- ยาสูบและผลิตภัณฑ์ที่ใช้แทนยาสูบ มูลค่า 118 ล้านดอลลาร์
- ของเล่น เกม กีฬาฯ มูลค่า 116.4 ล้านดอลลาร์
- พลาสติกและของที่ทำด้วยพลาสติก มูลค่า 79 ล้าน
- อื่น ๆ มูลค่า 867
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
เมื่อเทียบรายการสินค้าไทยกับอินโดนิเซียที่ออกไปยังสหรัฐ จะได้เห็นชัดเจนว่ามีกลุ่มสินค้าคล้ายคลึงกันอยู่หลายรายการ หากไทยได้ภาษีสูงกว่าอินโอนิเซีย ไทยจะเสียความสามารถในการแข่งขันด้านราคา สินค้าไทยจะมีราคาขายในตลาดสหรัฐฯ แพงกว่าสินค้าอินโดฯ ที่เสียในอัตราต่ำกว่า ขณะที่ ผู้นำเข้าหรือผู้ค้าปลีกในสหรัฐฯ จะหันไปเลือกสินค้าจากอินโดฯ แทน เพื่อรักษาต้นทุนและราคาขายให้แข่งขันได้
รวมถึงยอดส่งออกไทยไปสหรัฐฯ อาจลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าที่ไทยกับอินโดฯ แข่งขันกันโดยตรง เช่น ยางพารา, เฟอร์นิเจอร์, เสื้อผ้า, อาหารแปรรูป หรือแม้กระทั่งผู้ผลิตไทยอาจต้องย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่ได้สิทธิภาษี หรือส่งออกผ่านฐานการผลิตในประเทศที่ได้เปรียบ
โดยในอนาคตไทยอาจจะสูญเสียส่วนแบ่งตลาดในระยะยาวหากลูกค้าในสหรัฐฯ เปลี่ยนซัพพลายเออร์เป็นอินโดนีเซีย หรือเวียดนาม และเกิดความพึงพอใจ อาจไม่กลับมาซื้อจากไทยอีก
แหล่งที่มา : ฐานเศรษฐกิจ